เมนู

การสืบวงศ์ตระกูล พึงพากเพียรทำประโยชน์
ในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ เถิด.
[792] ก็ในกาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่า ประโยชน์
นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ในกาลนั้น ก็ไม่
ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า
กรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้ เราจะกระทำ
อย่างไรดี.

จบ ตจสารชาดกที่ 8

อรรถกถาตจสารชาดกที่ 8


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ปัญญาบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อมิตฺตหตฺ-
ถตฺถคตา
ดังนี้.
จริงอยู่ ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดใน
อุบายเหมือนกัน อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราชนาแล้ว จึงทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
เรื่องอดีตทั้งปวงซึ่งมีคำเริ่มว่า ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้า
พรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดใน
ตระกูลกุฎุมพีในหมู่บ้าน ดังนี้ไปพึงกล่าวตามทำนองชาดกแรกนั่น

แหละ. ก็ในชาดกนี้เมื่อหมอตายแล้ว ชาวบ้านกล่าวว่า. เด็กเหล่านั้น
เป็นผู้ฆ่ามนุษย์ จึงจองจำเด็กเหล่านั้นด้วยไม้ตะโหงกแล้วนำไปยัง
นครพาราณสีด้วยหวังใจว่า จักถวายพระราชาทอดพระเนตร. ใน
ระหว่างทางนั่นแล พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่พวกเด็กที่เหลือว่า
ท่านทั้งหลายอย่ากลัว ท่านทั้งหลายเฝ้าพระราชาแล้วก็อย่ากลัว พึง
เป็นผู้มีอินทรีย์ร่าเริง พระราชาจักตรัสกับพวกเราก่อน จำเดิมแต่นั้น
เราจักรู้. เด็กเหล่านั้นรับคำว่าได้ แล้วจึงกระทำเหมือนอย่างนั้น.
พระราชาทรงเห็นเด็กเหล่านั้นไม่กลัว มีอินทรีย์ร่าเริง ทรงดำริว่า
เด็กเหล่านั้นถูกหาว่าเป็นผู้ฆ่าคนถูกจำด้วยไม้ตะโหงกนำมา แม้จะถึง
ความทุกข์เห็นปานนี้ก็ไม่กลัว มีอินทรีย์ร่าเริงยินดีทีเดียว อะไรหนอ
เป็นเหตุไม่เศร้าโศกของเด็กพวกนี้ เราจักถามพวกเขาดู เมื่อจะ
ตรัสถาม จึงตรัสคาถาที่ 1 ว่า :-
พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ถูก
เขาจองจำด้วยท่อนไม้ไผ่ ยังเป็นผู้มีสีหน้า
ผ่องใส เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่เศร้าโศก
เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมิตฺตหตฺถตฺถคตา ความว่า
อยู่ในเงื้อมมือของพวกอมิตรผู้เอาไม้ตะโหงกจำที่คอแล้วนำมา. บทว่า
ตจสารสมปฺปิตา ความว่า พระราชาตรัสอย่างนี้ เพราะเด็กเหล่านั้น
ถูกจองจำด้วยท้อนไม้ไผ่. บทว่า กสฺมา ความว่า พระราชาตรัส

ถามว่า พวกเจ้าแม้ได้รับความพินาศเห็นปานนี้ เพราะเหตุไรจึงไม่
เศร้าโศก.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า
บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็ก
น้อย ด้วยความเศร้าโศกและความร่ำไห้
พวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก ได้รับความ
ทุกข์ ย่อมจะดีใจ.
ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความ
ย่อมไม่สะทกสะท้านเพราะอันตรายที่จะเกิด
ขึ้นไม่ว่าเมื่อไร พวกศัตรูได้เห็นหน้าบัณฑิต
นั้น อันไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนแต่ก่อน
ย่อมเกิดความทุกข์.
บุคคลพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วย
ประการใด เช่น การร่ายมนต์ การปรึกษา
ท่านผู้รู้ การกล่าววาจาอ่อนหวาน การให้
สินบน หรือการสืบวงศ์ตระกูล บัณฑิต
พึงพากเพียรทำประโยชน์ในที่นั้น ด้วย
ประการนั้น ๆ เถิด.
ก็ในกาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่าประโยชน์
นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ในกาลนั้น ก็

ไม่ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสีย
ว่ากรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้เราจะกระทำ
อย่างไรดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ ได้แก่ ความเจริญ.
ด้วยบทว่า ปจฺจตฺถิกา อตฺตมนา นี้ ท่านแสดงว่า พวกปัจจามิตร
รู้ว่าบุรุษนั้นเศร้าโศก มีทุกข์ ย่อมจะดีใจ บัณฑิตไม่ควรต่ำชื่อซึ่ง
เหตุแห่งความยินดีของพวกปัจจามิตรนั้น. บทว่า ยโต แปลว่า
ในกาลใด. บทว่า น เวธติ ความว่า ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความ
กลัวอันเกิดจากความสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า อตฺถวินิจฺฉยญฺญู ได้แก่
ผู้ฉลาดวินิจฉัยอรรถคดีนั้น ๆ. บทว่า ชปฺเปน แปลว่า ด้วยการ
ร่ายมนต์. บทว่า มนฺเตน ได้แก่ ด้วยการถือเอาความคิดกับบัณฑิต
ทั้งหลาย. บทว่า สุภาสิเตน ได้แก่ ด้วยคำพูดอันน่ารัก. บทว่า
อนุปฺปทาเนน ได้แก่ ด้วยการให้สินบน. บทว่า ปเวณิยา ได้แก่
ด้วยตระกูลวงศ์. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดา
บัณฑิต เมื่ออันตรายเกิดขึ้น ไม่ควรเศร้าโศก ไม่ควรลำบากใจ
ก็บุคคลพึงชนะพวกปัจจามิตรได้ด้วยอำนาจเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน
บรรดาเหตุ 5 ประการนี้ ก็ถ้าอาจทำได้ไซร้ พึงร่ายมนต์ผูกปากไว้
ไม่ให้พูด ก็จะพึงชนะพวกปัจจามิตรนั้นได้ บัณฑิตเมื่อไม่อาจทำ
อย่างนั้น พึงให้สินบนแก่พวกอำมาตย์ผู้ตัดสินความ ก็จะพึงชนะได้
เมื่อไม่อาจทำอย่างนั้น พึงพูดถึงวงศ์ตระกูล แม้จะลำดับญาติที่มีอยู่
อย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้ามาจากเชื้อสายชื่อโน้น และบรรพบุรุษของ

ท่านก็เป็นอันเดียวกัน ก็พึงชนะได้เหมือนกัน. บทว่า ยถา ยถา
ความว่า บุคคลพึงได้ความเจริญแห่งตนในที่ใด ๆ ด้วยเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุ 5 ประการนี้. บทว่า ตถา ตถา ความว่า
พึงพากเพียรในที่นั้น ๆ ด้วยเหตุนั้น ๆ. อธิบายว่า พึงทำความบาก
บั่นจนชนะพวกข้าศึก. บทว่า ยโต จ ชาเนยฺย ความว่า ก็ใน
กาลใด บัณฑิตพึงรู้ว่า ประโยชน์นี้อันเราหรือคนอื่นก็ตามไม่ควรได้
แม้จะพยายามโดยประการต่าง ๆ ก็ไม่อาจได้แม้ในกาลนั้น บุรุษผู้เป็น
บัณฑิตก็ไม่เสียใจ ไม่ลำบากใจ พึงอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า กรรม
ที่เราทำไว้ในปางก่อน เหนียวแน่น มั่นคง ไม่อาจจะห้ามได้ เดี๋ยวนี้
เราจะสามารถทำอะไรได้.
พระราชาได้สดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์ แล้วทรงสะสาง
การกระทำด้วยพระองค์เอง ทรงทราบว่าพวกเด็กไม่มีโทษผิด จึงรับ
สั่งให้นำไม้ตะโหงกออก แล้วพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่พระมหาสัตว์
แล้วได้ทรงกระทำให้เป็นอำมาตย์แก้วอนุศาสก์อรรถธรรมแก่พระองค์
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
ชุมชาดกว่า. พระเจ้าพาราณสีในครั้นนั้น ได้เป็นพระอานนท์ พวก
เด็ก ๆ ในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถรานุเถระ ส่วนเด็กผู้เป็นบัณฑิต
ใดครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาตจสารชาดกที่ 8

9. มิตตวินทุกชาดก


ว่าด้วยจักรกรดพัดบนหัว


[793] ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เทวดาทั้ง
หลาย ข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้
จักรกรดจึงได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าพัด
อยู่บนกระหม่อม.
[794] ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาท
แก้วมณี ปราสาทเงินและปราสาททอง แล้ว
มาในที่นี้เพราะเหตุอะไร.
[775] เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหาย
เพราะความสำคัญเช่นนี้ว่า โภคสมบัติในที่นี้
เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่
นั้น.
[796] ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต 4 มาได้
นางเวมานิกเปรต 8 ละทิ้งนางเวมานิกเปรต
8 มาได้นางเวมานิกเปรต 16 ละทิ้งนางเว-
มานกเปรต 16 มาได้นางเวมานิกเปรต 32
ปรารถนาไม่รู้จักพอ มายินดีจักรกรด จักร-